วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาสวยงาม

เทคนิคการเลี้ยงปลาทองในตู้
ที่มาของรูป  http://www.showded.com/users/ultraman/images/8.jpg
   นักเลี้ยงปลาทองส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงในตู้มากกว่า ภาชนะอย่างอื่น เพราะนอกเหนือจากความงดงามอ่อนช้อยของปลาทองแล้ว ยังสามารถตกแต่งตู้ปลาให้สวยงามเป็นเครื่องประดับบ้านโชว์แขกที่มาเยี่ยม เยือนได้เป็นอย่างดี
   การเลี้ยงปลาทองในตู้จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าดังต่อไปนี้
 
เลือกสถานที่
   ก่อนซื้อตู้ปลา ควรกำหนดจุดหรือบริเวณภายในบ้านหรืออาคารสำหรับเป็นที่ตั้งตู้ปลาเสียก่อน วัดขนาดความกว้างความสูงของสถานที่ ให้แน่นอนแล้วจึงไปหาซื้อตู้ที่มีขนาดพอเหมาะกับสถานที่ตั้ง จุดที่เหมาะ สำหรับตั้งตู้เลี้ยงปลาทองควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวกถ้าได้ที่มีแสงแดดตอน เข้าส่องถึงจะดีมาก เพราะแสงแดดยามเช้าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ตรงกันข้ามกับแสงแดดยามบ่ายจะทำให้สีของปลาจางลงนอกจากนั้นแล้วจุดตั้งตู้ เลี้ยงปลาควรอยู่ตรงที่สามารถขับถ่ายน้ำได้สะดวก

ตู้เลี้ยงปลา 
   ตู้เลี้ยงปลาทองควรพิจารณาเลือกตู้ที่มีรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ ที่เลือกไว้ อย่างไรก็ตามขนาดของตู้ไม่ควรเล็กเกินไปถ้าต้องการจะตกแต่งตู้ด้วยพรรณไม้ น้ำและวัสดุอย่างอื่นเช่นก้อนหิน หรือขอนไม้
   ตู้เลี้ยงปลาปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ชนิด คือ ตู้ที่ทำด้วยแผ่นกระจก และตู้ที่หล่อขึ้นจากอะคริลิกใส ตู้กระจกมีข้อดีตรงที่ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเวลาทำความสะอาด แต่เสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก และมีรอยต่อตรงมุมตู้ส่วนตู้อะคริลิกมี่ข้อดีตรงที่มีความใสมากกว่า แผ่นกระจก ไม่มีรอยต่อตรงมุมตู้น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียที่ราคาแพง เกิดรอยขีดข่วนง่ายและถ้าเป็นอะคริลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนาน ๆ  จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชาด้วยเหตุนี้ตู้กระจกจึงยังได้รับความนิยมมากกว่า
การจัดเตรียมตู้ปลา
   ตู้ปลาที่ซื้อมาใหม่จะต้องล้างทำความสะอาดแล้วใสน้ำแช่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ระหว่างที่ใสน้ำแช่ไว้ควรตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมที่ใดบ้างหรือเปล่าถ้ามี ก็จัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นถ่ายน้ำที่แช่ไว้ออกให้หมด เช็ดให้แห้งแล้วนำไปวางเข้าที่ที่เตรียมไว้ การเคลื่อนย้ายตู้ปลาควรใช้มือช้อนเข้าไปในตู้แล้วยก อย่าจับขอบด้านบนแล้วยกเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้แผ่นกระจกด้านข้างโย้ไปมาจนกาวยึดรอยต่อเกิดการรั่วซึมหรือฉีก ขาดได้

เตรียมแผ่นกรอง
   แผ่นกรองก่อนนำมาใช้จะต้องทำความสะอาดเสียก่อนเนื่องจากแผ่นกรองทำด้วย พลาสติกที่ใช้สารเคมีในขบวนการผลิต ถ้าไม่ล้างออกให้หมดอาจเป็นอันตรายต่อปลา จากนั้นนำแผ่นกรองประกอบเข้ากับท่อระบายอากาศ ต่อสายยางจากปั้มลมเข้ากับท่อลมข้างท่อระบายอากาศ แล้วเอาแผ่นกรองวางแนบกับพื้นตู้

เตรียมพื้นตู้
   วัสดุที่ใช้ปูพื้นตู้โดยมากนิยมใช้ทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็ก ไม่ควรใช้ทรายละเอียด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลงตกตะกอนและเศษของเสียยังตกค้างอยู่บน พื้นผิวทราย เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น สำหรับปลาทองซึ่งเป็นปลาที่ชอบคุ้ยหาอาหารที่พื้นจึงควรใช้กรวดขนาดใหญ่ขึ้น มาหน่อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และควรเลือกกรวดที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมและปราศจากเศษเปลือกหอย ป้องกันปลาทองบาดเจ็บเมื่อว่ายไปชน
   ก่อนนำกรวดมาใช้ปูพื้นตู้ปลาจะต้องล้างให้สะอาดจนหมดเศษดินแล้วแช่น้ำทิ้ง ไว้ 2-3 วันเพื่อกำจัดความเค็มที่อาจติดมากับกรวดถ้าจะให้ดีก็ควรเอากรวดมาลวกน้ำ ร้อนในถังแช่ทิ้งไว้ประมาณ  10-15 นาที เพื่อให้น้ำร้อนแทรกซึมเม็ดกรวดได้ทั่วถึง แล้วจึงนำมาล้างน้ำเย็นให้สะอาดก่อนนำไปใช้
   นำกรวดที่ล้างสะอาดแล้วไปเทใส่ตู้กลบทับแผ่นกรองให้มิดและหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว ที่นิยมกันมากจะปูพื้นให้ระดับกรวดด้านหลังตู้สูงกว่าด้านหน้า พื้นกรวดที่มีลักษณะเอียงลาดแบบนี้เมื่อนานไป กรวดที่อยู่ระดับสูงจะเลื่อนไหลลงมาอยู่ที่ระดับเดียวกันเป็นพื้นราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควรหาอะไรมากั้นดักเอาไว้เป็นช่วง ๆ

ขั้นตอนการเตรียมตู้ปลา
1. ใส่กรวดทับลงไปบนแผ่นกรอง
2. เกลี่ยกรวดให้เต็มพื้นตู้
3. ปรับระดับชั้นกรวดสูงต่ำตามต้องการ
4. ตกแต่งด้วยก้อนหิน ขอนไม้ ตามชอบ
5. ใส่น้ำโดยใช้พลาสติกหรือชามรองกันทรายกระจายขึ้นมา
6. ถ้าต้องการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้น้ำใส่น้ำลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อน
7. เริ่มปลูกต้นไม้น้ำที่เป็นฉากหลังก่อน
8. ปลูกต้นไม้น้ำระดับกลางตู้
9. ปลูกต้นไม้น้ำขนาดเล็กไว้ด้านหน้าตู้
10. หลังจากปลูกต้นไม้น้ำหมดแล้วให้ถ่ายน้ำทิ้ง
11. ใส่น้ำสะอาดไปให้เต็มตู้แล้วช้อนเศษใบและกิ่งก้านไม้น้ำที่ลอยอยู่ในน้ำออกให้หมด
12. ตู้ที่จัดเสร็จแล้วแต่น้ำยังขุ่นอยู่ ต้องรอให้น้ำใสเสียก่อนจึงค่อยปล่อยปลาลงไปเลี้ยง
 ที่มาของภาพ https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgKIgH8ovVYzDtzLj1BIUwkMPXfxzKiM2QfVg-aU0YiHMiSNAmYopySBr2cBfbTnQSf_bHFjqYyfMykYMoOQEjw7Q2XybkQnF1bWbSZF1u-iqPhqD8iSVqNKpp6L1_svmWEy7FS2t9V6BQ/s1600/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A11.jpg
          ปลาที่นิยมเลี้ยงนั้นนะค่ะมีหลายประเภทค่ะ  และที่เราจะพูดถึงวันนี้นั้นคือ ปลาทองค่ะ ซึ่งเป็นปลาสวยงามอันดับ ต้น ๆ ในบรรดาปลาสวยงามเลยละค่ะ  ได้รับความนิยมที่จะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางเลยละค่ะ เพราะมีความสวยงามดูมีชีวิตชีวาละค่ะ ชื่อของปลาชนิดนี้ยังเป็นมงคลอีกด้วยละค่ะ ผู้ที่ชอบการเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นนั้น นิยมที่จะเลี้ยงเจ้าปลาทองไว้ดูเล่นกันจำนวนมาก เลยละค่ะ
หากว่าปลาทองเป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยากนะค่ะ แต่ว่าหลายคนผิดหวังจากการเลี้ยงปลาชนิดนี้ไม่น้อยเลยละค่ะ เพราะว่าจากปลาทองจัดเป็นปลาที่ตายได้ง่ายมากค่ะหากไม่รู้วิธีการเลี้ยง อย่างถูกต้อง เรามีคำแนะนำดี ๆมาฝากผู้ที่ชอบเลี้ยงปลาทองกันค่ะ
          แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ
 สายพันธุ์ที่  1.  ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ 
มีลักษณะเด่นบริเวณหัว ที่จะมีก้อนเนื้อหุ้มอยู่คล้ายสวมหัวโขนค่ะ
 สายพันธ์ที่  2.ปลาทองพันธุ์ออรันดา ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบหางอ่อนช้อยเป็นพวงสวยงามค่ะ
 ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใสค่ะ และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทอง 12 ตัว ในอ่างซีเมนต์คำนึงแสงสว่างไม่อับแสง และจ้าจนเกินไป และควรใช้ตาข่ายที่พรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อด้วยละค่ะบ่อควรลาดเอียง เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนน้ำค่ะ
 การให้อาหาร
ให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้งค่ะทุกครั้งไม่ควรมากเกินไปนะค่ะ เพราะปลาจะทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ค่ะ อาหารเสริมอย่างลูกน้ำและหนอนแดงให้เสริมได้โดยดูความอ้วนและความแข็งแรงค่ะ ปลาตัวใหญ่อ้วน จะสังเกตได้ที่โคนหางจะใหญ่แข็งแรงและมีความสมดุลกับตัวปลา
 คุณภาพของน้ำ
น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีนค่ะ เตรียมน้ำโดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้นะค่ะเพื่อให้คลอรีนระเหยละค่ะ
 อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ
ภาชนะที่เลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ค่ะไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำค่ะ เพื่อให้น้ำนั้นหมุนเวียน ทำให้เกิดการเติมออกซิเจนค่ะ ปลาใหญ่ต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็กอยู่แล้วละค่ะ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียสนะค่ะ การรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุดละค่ะ
การเลี้ยงปลาทองนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยละค่ะแต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเกินไปนะคะ แค่ผู้ที่จะเลี้ยงต้องใส่ใจกับภาชนะ สภาพน้ำ การให้อาหาร และหมั่นสังเกตเจ้าปลาทองอย่างสม่ำเสมอค่ะ ปลาทองสวยๆนองคุณจะได้อยู่กับคุณไปนานๆค่ะ
ขอขอบคุณบทความดีๆจาก  pet.kapook.com
 

ปลากัด


ปลากัด ในประเทศ ไทยนั้นมีมูลค่าการส่งออกอยู่ในลำดับที่ 1 ใน 3 ของปลาสวยงามทั้งหมดที่ได้มีการส่งออกตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2543 ถึง ปีพ.ศ. 2550 ซึ่งยังมีปัญหาหนึ่งของการผลิตปลากัดเพื่อส่งออก นั่นก็คือ การที่ปลากัดติดเชื้อแบคทีเรีย โรควัณโรคในปลากัด โดยพบว่ามีการแพร่ระบาดอย่างหนักในปลาสวยงาม อย่าง เช่น ปลากัด ปลาเทวดาและปลาออสก้า  และต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากเชื้อมัยโคแบคทีเรียม โดยที่เชื้อนี้ สามารถพบได้ในไรแดง ในลูกน้ำ ในไส้เดือนฝอย และอื่นๆ โดยจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคดังกล่าวในกลุ่มอาหารที่มีชีวิต ได้ทำให้ปลากัดที่เลี้ยงด้วยอาหารดังกล่าวนี้มีโอกาสที่จะติดเชื้อและการ แพร่ระบาดของ
โรคสามารถแพร่ไปได้ง่าย ซึ่งจากการสุ่มตรวจตัวอย่างของปลาสวยงาม ได้พบว่ามีปลาประมาณ 90% ของตัวอย่างที่พบเชื้อมัยโคแบคทีเรียม โดยที่ปลาไม่แสดงอาการป่วยใดๆให้เห็น แต่ปลากัดที่ป่วยเป็นโรคนี้ก็ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ ฉะนั้นในการศึกษาการผลิตปลากัดปลอดเชื้อจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการ ระบาดของโรคติดเชื้อ จากที่คุณเต็มดวง สมศิริ และคณะ จากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืดศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัด ระยอง จึงได้มีการเริ่มโครงการทดลองเพื่อการผลิตปลากัดปลอดเชื้อ ที่มีการเลี้ยงจากการควบคุมการผลิตไรแดง ซึ่งจากหัวน้ำเขียวคลอเรลล่าที่ ปลอดเชื้อ ที่มีการควบคุมสุขอนามัยฟาร์มในการฆ่าเชื้อในน้ำและอุปกรณ์ในระบบการเพาะ เลี้ยงด้วยคลอรีน รวมทั้งคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปลากัดที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่มีการปน เปื้อนของเชื้อมัยโคแบคทีเรีย และจากการทดลองพบว่าเมื่อนำปลากัดมาเพาะพันธุ์จำนวน 3 รุ่น ได้มีการพบว่าลูกปลากัดจำนวน 29 ครอก จาก 30 ครอก ไม่มีเชื้อดังกล่าวให้เห็นเลย ซึ่งทำให้สามารถสรุปได้ในเบื้องต้นว่าพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลากัดที่ปลอด เชื้อสามารถผลิตลูกปลากัดที่ปลอดเชื้อได้ผลดี ทำให้เป็นที่สังเกตกันว่าอาหารธรรมชาติที่มีชีวิตสำหรับปลาในเขตร้อน ได้พบว่าไรแดงเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดของลูกปลา ซึ่งมีปริมาณโปรตีนสูง ถึง 70% สำหรับการเพาะเลี้ยงไรแดงในประเทศไทยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะนิยมใช้ปุ๋ย มูลสัตว์ ได้แก่ หมูและไก่ ซึ่งทำให้เชื้อโรค ที่อาจปะปนมากับมูลสัตว์   และหากเมื่อนำไรแดงจากการเลี้ยงด้วยอาหารดังกล่าวมีโอกาสที่จะมีเชื้อโรค ติดมาซึ่งรวมถึง เชื้อมัยโคแบคทีเรียด้วย ดังนั้นการเพาะเลี้ยงไรแดงที่ใช้ ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญของน้ำเขียวเพื่อเป็นอาหารของไรแดง จึงพบว่ามีสุขอนามัยดีกว่าแต่มีต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่า

ขอขอบคุณบทความดีดีจาก  xn--b3c4bjh8ap9auf5i.th

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปลาที่คนนิยมเลี้ยงมากที่สุด

 เป็นเรื่องปลาซึ่งปัจจุบันนิยมเลี้ยงมาก ขึ้น นอกจากเพลินตาเพลินใจแล้ว ยังช่วยฝึกสมาธิให้เป็นคนสุขุมเยือกเย็น และมีความเชื่อว่าช่วยเสริมโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้เลี้ยงด้วย
อโรวาน่า
ปลามังกร หรือ อโรวาน่า    เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเพื่อให้เกิดความเป็นมงคลกับบ้าน(ตามความเชื่อของคน จีน) ปกติการเลือกซื้อปลามังกร ในทุกๆสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นราคาถูกอย่างเช่น มังกรเงิน ปลามังกรทองออสเตรเลีย  ราคาปานกลาง ปลามังกรทองอ่อน ปลามังกรเขียว  จนถึงปลาราคาสูงอย่าง ปลามังกรทองอินโด  ปลามังกรทองมาเล  ปลามังกรแดง และกลุ่มบลูเบส กลุ่มลูกผสมต่างๆ  ก็มีหลักการแรก ที่เหมือนกันคือ เลือกปลาที่แข็งแรง ครีบว่ายน้ำปกติไม่บิดงอ  ปกไม่ยื่น ตาไม่ตก  ไม่มีรอยแผลตามตัว   ปลามีความปราดเปรียวตื่นตัวแต่ไม่ถึงกลับตื่นกลัว(มุดอยู่แต่มุมตู้) ครับ  ส่วนอาหารการกินของปลามังกรก็มีตั้งแต่อาหารสดคือปลาเหยื่อ  หนอนนก หนอนยักษ์ จิ้งหรีด (ไม่แนะนำ กุ้งฝอย กับลูกปลาที่มีครีบแหลมคม เช่นลูกปลานิล เพราะอาจมีปัญหากรี หรือ ครีบแข็ง ตำเข้าในปากปลาหรือหลอดอาหารทำให้ปลาป่วย)  ปกติปลามังกร ช่วงเล็กมากๆ ให้เลี้ยงด้วยไรน้ำเค็ม  โตขึ้นมาหน่อยก็ให้หนอนนกครับ จะเหมาะที่สุด  ส่วนอาหารเม็ดก็ฝึกให้กินได้ครับแต่ต้องฝึกเมื่อตอนยังเล็กนะครับ  ปลามังกรบางชนิดสามารถเลี้ยงได้หลายตัวในตู้เดียวกันเช่น มังกรเงิน  ส่วนการเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นสามารถทำได้ครับแต่ต้องเน้นที่ใหญ่และไม่ก้าว ร้าวนะคะ 
กลุ่มปลาหมอสี ครอสบรีด  ปัจจุบันมีการผสมออกมาได้หลากหลายสายพันธุ์จนไม่สามารถจำแนกได้ว่าแท้จริง แล้วควรเรียกว่าสายพันธุ์ไหน แต่ถึงอย่างนั้นหากท่านซื้อปลาหมอสี ครอสบรีดจากแหล่งใดก็ควรถามคนขายด้วยว่ามันมีเชื้อสายอะไรครับ (จริงหรือไม่ก็แล้วแต่ความซื่อสัตย์ของผู้ขายครับ) ปลาชนิดนี้เวลาเลือกหากต้องการเลี้ยงปลาที่มีหัวใหญ่ๆโดยส่วนมากควรซื้อปลา ตัวผู้ครับ ส่วนในเรื่องสีนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ครับ หากเป็นสายราชบุรีเดิมแดงชัวร์ และที่สำคัญปลาที่เลือกซื้อต้องสังเกตว่าครีบปกติ ดวงตาปกติ รูปทรงปกติไม่บิดงอ ปากไม่พิการ มีความคึกคัก ปราดเปรียว ไม่พบขี้เป็นวุ้นขาว(สำคัญมาก)  และข้อสำคัญหากท่านตกลงใจที่จะเลี้ยงปลาหมอสีแล้ว ก็ควรทำใจได้เลยว่าปกติปลาที่สามารถเลี้ยงร่วมกับเจ้าหมอสีนั้นแทบไม่มี เพราะมันเป็นปลาที่ดุกัดไม่เลือก ดังนั้นควรเลี้ยงตัวเดียว (อาจเลี้ยงร่วมกับปลาเทศบาลได้ครับในกรณีที่ต้องการปลาทำความสะอาดตู้ เนื่องจากมีมันแค่ชนิดเดียวที่ทนต่อการกัดได้ แต่ต้องใหญ่พอฟัดกับปลาหมอนะครับหากเล็กไปก็กลายเป็นอาหารไป ) ส่วนอาหารของปลาหมอสี ปกติควรหลีกเลี่ยงการให้อาหาร สดเนื่องจากโดยมากมักส่งผลต่อการเจ็บป่วยของปลาในระบบทางเดินอาหาร (ทำให้เกิดขี้ขาว  ท้องบวม) ควรให้ปลาชินต่อการกินอาหารเม็ดครับ  เพื่อง่ายต่อการคุมคุณภาพน้ำรวมทั้งสารอาหารที่ครบถ้วนกว่าครับ
ปลาที่นิยมเลี้ยงกัน และถือว่าจะนำพาความร่ำรวย โชคดี และความเจริญต่างๆ มาให้ ได้แก่ ปลาเงินปลาทอง ปลาคาร์ฟ และปลาอะโรวาน่า หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลามังกรนั่นเอง


เมื่อเลือกชนิดของปลาที่จะเลี้ยงแล้ว ก็ควรเลือกปลาตัวที่มีลักษณะดีด้วย นั่นคือ ควรดูลักษณะการว่ายของปลา ไม่เลือกปลาที่ว่ายหัวทิ่ม นอกจากนี้ ควรพิจารณาสีสัน และรูปทรงของปลา ให้ดูแล้วสง่างามด้วย



จำนวนของปลาที่นิยมเลี้ยง คือ 1, 4 หรือ 9 ตัว ซึ่งถือว่าเป็นเลขมงคล จะเลือกเลี้ยงจำนวนเท่าใดก็ควรคำนึงถึงขนาดของตู้ปลา และธรรมชาติของปลาชนิดนั้นๆ ว่าชอบอยู่เดี่ยวๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
        ปลามงคลที่ช่วยเสริมดวงเสริมบารมี ที่นิยมเลี้ยงมี 4 ชนิด ได้แก่ ปลาเงินปลาทอง,ปลามังกร,ปลาคาร์ฟ และปลาหมอสี ซึ่งอย่างหลังนิยมเลี้ยงมากกว่าชนิดอื่น เพราะเป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มลักษณะตรงตามความเชื่อในเทพเจ้าของชาวจีน “ฮก ลก ซิ่ว” ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง สมบูรณ์ และยั่งยืน อีกทั้งโดยตัวของปลาหมอสีมีเสน่ห์ชวนหลงใหล ด้วยสีสันที่ดึงดูดใจ นิสัยรักสงบแม้จะติดความหวงแหนในอาณาเขตของตัวเองไปบ้าง แต่ก็มีความอดทนสูงเช่นกัน! วิฑูรย์ เทียนรุ่งศรี ประธานชมรมผู้นิยมปลาสวยงาม ประเทศไทย บอกว่า ปลาหมอสีมีหลายพันธุ์ แต่ที่กำลังนิยมทั้งในและต่างประเทศคือ “ปลาหมอสีครอสบรีด”

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

น้องปลาทองเกล็ดแก้ว

เพิ่มคำอธิบายภาพปลาทองจัดว่าเป็นปลาที่กินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหารน่ะนะคะ มีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด และค่อนข้างจะเป็นปลาที่ตะกละ  โดยสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ส่วนปลาตัวที่ท้อง ช่องท้องจะอูมเป่งออก และเมืื่อถึงเวลาวางไข่ จะวางไข่ตามพืชน้ำ และใช้เวลาฟักออกมาเป็นตัวประมาณ 2 วัน

ปลาทอง มีหลากหลายสีด้วยกันค่ะ ตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองหลายสีในตัวเดียวกัน

ในธรรมชาตินั้น ปลาทองชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำค่ะ และอาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี

ในปัจจุบันเรามักเลี้ยงปลาทองให้เป็นปลาสวยงามน่ะนะคะ ปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด

ผู้เลี้ยงมักนิยมให้ปลาทองกินลูกน้ำ ไรน้ำ และตัวอ่อนแมลงชนิดต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างมีความสะดวกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงปลาทองค่ะ เพราะเราสามารถให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปแก่ปลาทองได้อีกด้วย

สำหรับความยาวของลำตัวปลาทองนั้น มีความยาวแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ค่ะ โดยมีความยาวตั้งแต่ 4-4.5 เซนติเมตร

ปลาทองลูกกอล์ฟใต้น้ำสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยจนเป็นที่รู้จักและยอมรับของทั่วโลกว่าเป็นปลาทองที่แปลกไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้วนี้เป็นปลาที่ชาวไทยเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรกของโลก ซึ่งปลาทองสายพันธุ์นี้มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองสายพันธุ์อื่นๆ โดยสิ้นเชิง นั่นคือเป็นปลาทองที่มีลำตัวกลมมากจนคล้ายลูกปิงปอง โดยเฉพาะเกล็ดบนลำตัวจะมีลักษณะนูนขึ้นจนเป็นตุ่มซึ่งผิดกับเกล็ดของปลาทองโดยทั่วไป ส่วนหัวมีขนาดเล็กมากซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นปลาทองที่มีส่วนหัวเล็กที่สุดก็ ว่าได้ และจากลักษณะพิเศษเฉพาะนี้ทำให้ปลาทองเกล็ดแก้วดังข้ามทะเลไปสร้างชื่อเสียง ไกลถึงต่างประเทศให้เป็นที่รู้จัก ในนามของ "PEARL SCALE GOLDFISH"
สำหรับ ประวัติความเป็นมาของปลาทองสายพันธุ์นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ไม่ได้นำบันทึกการเพาะออกเผยแพร่จึงไม่อาจสืบทราบ ประวัติที่มาของปลาทองสายพันธุ์นี้ได้ แต่โชคร้ายที่ถึงแม้ว่าปลาทองพันุ์เกล็ดแล้วจะเป็นปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้น ได้ในประเทศไทยเราเองก็ตาม แต่กลับเป็นปลาที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงในบ้านเรา เหตุผลเท่าที่ได้ฟังมาเป็นเพราะปลาทองพันุ์นี้เป็นปลาที่เกล็ดยื่นนูนออกมา ทำให้แลดูไม่น่ารักแถมบางคนบอกดูแล้วน่าเกลียดมากกว่า แต่ถ้าพูดถึงความยากง่ายในการเลี้ยงแล้วปลาทองสายพันธ์นี้จัดอยุ่ในเกณฑ์ค่อนข้างเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะเป็นปลาที่เปราะบางและป่วยเป็นโรคได้ง่าย
สำหรับ เทคนิคในการเลี้ยงก็ใช้หลักการเดียวกับการเลี้ยงปลาทองทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้มีผู้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาทองพันธุ์นี้จนได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทีรูปทรงแตกต่างออกไปมากมาย เช่นปลาทองเกล็ดแก้วชนิดหางสั้น ชนิดหางยาว ชนิดหัววุ้น และชนิดหัวมุก ฯลฯ และบ้างก็เน้นไปทางสีสันโดยการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีสีสัน แปลกๆ ออกไป แต่จุดใหญ่คือการคงไว้ซึ่งเกล็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สำหรับ ปลาทองเกล็ดแก้วที่เป็นที่นิยมว่าสวยควรมีลำตัวกลมเหมือนลูกปิงปองเกล็ดบนลำ ตัวจะต้องอยู่ครบทุกเกล็ด เกล็ดที่ดีควรขึ้นเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวควรคอดเล็กแล้วปลายแหลม ส่วนหางควรเบ่งบานแต่จะยาวหรือสั้นก็พิจารณาตามสายพันธุ์ของปลาทองนั้นๆ สำหรับสีบนลำตัวเท่าที่นิยมเลี้ยงๆกัน โดยมากจะเป็นปลาที่มีสีขาวสลับแดงอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาที่มีสีขาวทั้งตัวเป็นปลาที่ไม่สู้ได้รับความนิยมเท่าที่ควร  




ขอบคุณที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม


วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม
ปลาสวยงามแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยในการเลี้ยงต่างกัน ดังนั้นหากต้องการให้ปลาที่เลี้ยงมีความสวยงาม แข็งแรง และเจริญเติบโตดีตามต้องการ ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้

1. ภาชนะสำหรับเลี้ยงปลา
ปลาสวยงามแต่ละชนิดจะมีความสวยงามมากขึ้น หากเลือกภาชนะในการเลี้ยงได้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ปลาคาร์พ และปลาอะราไพม่า เหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ภายนอกอาคาร ปลาแรด และ
ปลามังกรเหมาะ ที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดใหญ่และเลี้ยงเพียงตัวเดียวโดดๆ ปลานีออน ปลาก้างพระร่วง ปลาตะเพียนทอง ปลาเสือสุมาตรา ปลาม้าลาย ปลาซิวข้างขวาน ปลาหางนกยูง และปลาสอด เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยเลี้ยงเป็นฝูงจะยิ่งทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ส่วนปลากัด เหมาะสำหรับเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กเช่นขวดเหลี่ยม หรือขวดโหลรูปทรงต่างๆ

การเลี้ยงปลาสวยงาม
2. สถานที่
คือการเลือกที่สร้างบ่อหรือที่จัดวางตู้ปลา พร้อมอุปกรณ์ประกอบอื่นๆให้เหมาะสมสอดคล้องกับอาคาร หรือลักษณะของห้อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใด มุมใด หรือห้องใด เพราะเมื่อสร้างบ่อหรือจัดวางตู้เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนสถานที่ใหม่ จะมีความยุ่งยากในการเคลื่อนย้าย เพราะต้องมีการถ่ายน้ำออกและเคลื่อนย้ายปลา มักมีผลทำให้ปลาบอบช้ำหรือตู้เลี้ยงปลาชำรุดแตกร้าวได้ง่าย โดยเฉพาะหากทำให้ตู้ปลาเกิดการรั่วซึม ก็จะทำให้เกิดปัญหากับบริเวณข้างเคียง หรือการซ่อมแซมตู้อาจทำให้ความสวยงามลดลงได้

3. ความหนาแน่นของปลา
คือจำนวนปลาที่จะเลี้ยงในแต่ละตู้ไม่ควรให้มีจำนวนมากเกินไป สำหรับปลาบางชนิดอาจต้องเลี้ยงเพียงตัวเดียว เช่นปลามังกร ปลาแรด ปลาเค้า ปลากราย ปลาตองลาย ปลาบู่ ปลาชะโด และปลากัด ไม่เช่นนั้นปลาจะไล่กัดทำอันตรายกันเอง ปลาบางชนิดอาจเลี้ยงเป็นคู่หรือจำนวนไม่มากมายนัก เช่น
ปลาออสการ์ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา และปลาหมอชนิดต่างๆ หรือปลาบางชนิดควรเลี้ยงหลายตัวให้เป็นฝูงหรือเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรให้มีจำนวนมากมายจนเกินไป เพราะหากมีจำนวนมากเกินไป ปลาจะไม่ค่อยเจริญเติบโต แต่กลับอ่อนแอป่วยเป็นโรคได้ง่าย สำหรับจำนวนปลาที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นกับชนิดและขนาดของปลาด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงควรจะได้ศึกษาให้ละเอียดรอบคอบ

4. การรักษาความสะอาดในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา
ผู้เลี้ยงควรจะทำความเข้าใจวิธีการทำความสะอาดเพื่อกำจัดสิ่งหมักหมม และตะกอนที่ตกค้างอยู่ในระบบกรองน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดเศษอาหารและมูลที่ปลาขับถ่ายออกมาออกจากตู้ปลา โดยทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และยังเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดปลา ที่อาจเกิดจากเศษอาหารที่บูดเน่าได้

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปลาทองแสนสวย

  ปลาทองเป็น ปลาที่รู้จักกันดีในชื่อว่าปลาเงินปลาทอง เป็นปลาสวยงามประเภทแรก ๆ ที่มีคนนิยมเลี้ยงกันมาก การเลี้ยงไม่ยุ่งยาก ซื้อหาได้ทั่วไป ปลาทองเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ ไซไพร์นิดี้ Cyprinidae เป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ปลาไน , ปลาตะเพียน และปลาคาร์พ จัดเป็นปลาวงศ์ใหญ่ที่สุด มีชนิดของปลาอยู่กว่า 2000 ชนิด ปลาทองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า คาราเซียส ออราตัส Carassius auratus หรือมีชื่อเรียกทางภาษาอังกฤษว่า โกลด์ฟิช Goldfish เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศถิ่นฐานดั่งเดิมของปลาทอง แต่ก่อนชาวจีนนิยมเลี้ยงปลาไน หรือปลาหลีฮื้อ ไว้เพื่อเป็นอาหาร แต่เกิดการกลายพันธุ์เปลี่ยนลักษณะรูปร่างออกไปจากเดิม บางท่านอาจคิดว่าจะเป็นไปได้หรือนี่ ปลาทองเกิดจากการผ่าเหล่าจากปลาไน และนั้นก็คือความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ครั้งก่อนชาวจีนจำแนกปลาทองออกเป็น 2 ประเภท คือ ปลาทองที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ เรียกว่า ไชยู Chi yu และปลาทองที่เลี้ยงไว้ตามบ้าน เรียกว่า ชินไชยู Chin chi yu ปลาทองที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาตินั้นมีสีเทาไม่สวยงามเหมือนปลาทองที่เลี้ยง ไว้ตามบ้านที่มีสีสันสวยงามกว่า ชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาทองและเป็นชาติแรกที่เริ่มเพาะพันธุ์ปลาทอง แต่ทั้งนี้ไม่ทราบได้ว่าเริ่มเพาะพันธุ์กันตั้งแต่เมื่อใด จากการที่เพาะเลี้ยงกันเป็นเวลานานได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยมา จากการคัดสายพันธุ์ที่ดูแปลกและสีสันที่สดใส  ปลาทองเป็นปลาที่นิยมแพร่หลาย ไปจนทั่วประเทศจีน ไม่ว่าคนจีนจะย้ายถิ่นฐานไปที่ใดก็จะนำปลาทองติดสอยห้อยตามไปด้วย เพราะความเชื่อด้าน ฮวงจุ้ย และการที่ปลาสามารถป้องกันภัยให้ผู้เลี้ยงได้
    
                                             ปลาทองพันธุ์ ชูบุงกิน Shubunkin                 

 ปลาทองพันธุ์ โคเม็ท Comet
การแพร่หลายของปลาทองได้ขยาย ไปในต่างประเทศ จากการที่คนจีนอพยพย้ายถิ่นฐาน และจากการที่ประเทศจีนได้มีการติดต่อทำการค้ากับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเซียด้วยกัน เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย เป็นต้น อีกทั้งยังแพร่ไปยังทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปลาทองเป็นที่สนใจแพร่หลายไปทั่วเพราะความแปลกใหม่ทั้ง รูปทรงสีสัน  จากวิวัฒนาการของปลาทองเองและการพัฒนาของนักเพาะพันธุ์ รวมถึงภูมิประเทศที่เพาะเลี้ยง มีการคัดสายพันธุ์ใหม่ ๆ เพาะพันธุ์เรื่อยมาทำให้ปลาทองมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากทั้งด้านลักษณะ รูปทรง และสีสันที่มีความฉูดฉาดมากขึ้น ปลาทองเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตไว กินอาหารได้ทั้งพืช และสัตว์ แม้กระทั้งอาหารสำเร็จรูป ท่าที่คิดจะเริ่มเลี้ยงปลาสวยงามไว้ดูเล่น ขอแนะนำปลาทองเป็นจุดเริ่มต้น ใส่โหลเล็ก ๆ ไว้ดูเล่นสักตัวสองตัวครับ

ปลาหมอสี

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)



ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
เพิ่มคำอธิบายภาพ

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า ปกติเป็นปลา ที่พบได้บริเวณที่มีน้ำลึกตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไปดยที่บริเวณดังกล่าวจะมีแนวโขดหินความลึกโดยเฉลี่ยที่จะสามารถพบ ปลาชนิดนี้ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของฝูงปลา และลักษณะของบริเวณพืนที่ที่พบ เช่นที่ Milima Island ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่เกาะ Kavala จะพบปลาชนิดนี้ได้ในความลึกระหว่าง 4-50 เมตร
และบริเวณส่วนที่ตื้นที่สุดของบริเวณ Kapampaจะพบฝูงปลาฟรอนโตซ่าได้ที่ความลึก 25-30 เมตรตลอตจนสามารถพบเจ้าฟรอนโตซ่าตามบริเวณที่มีน้ำลึกมากๆ และมีแนวโขดหินทั่วทะเลสาบ
ปลาชนิดนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง และปกติจะพบตัวผู้ที่เป็นหัวหน้าฝูงอยู่กับตัวเมียหลายๆตัว ซึ่งตัวเมียบางตัวอาจจะกำลังอมไข่อยู่ และบางทีก็จะพบว่าในฝูงนั้นยังมีตัวผู้อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าตัวหัวหน้าฝูงอีกด้วย บรรดาฝูงฟรอนโตซ่าตัวเล็กๆ หรือที่เพิ่งโตขึ้นมาจะพบได้บริเวณน้ำตื้น แต่ตัวขนาดใหญ่ที่มีลำตัวยาวตั้งแต่ 30 ซม. ขึ้นไปจะพบได้บริเวณที่ความลึกที่ต่ำกว่า 20 เมตร
ชื่อ ของปลาชนิดนี้มาจากลักษณะบริเวณหัวที่มีโหนกออกมาโดดเด่น โดยเฉพาะในตัวผู้ ส่วนตัวเมีย จะมีหัวที่ค่อนข้างมนกลม และครีบท้องมักจะไม่ค่อยยาวเกินไปถึงครีบบริเวณทวาร ปลาชนิดนี้โดยจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นโขดหิน และมีพื้นที่เป็นทราย เป็นปลาชนิดที่อมไำข ตัวผู้มีขนาดยาวได้ถึง 33 ซม. หรือ 12-13 นิ้ว ในขณะที่ตัวเมียส่วนใหญ่จะมีขนาดไม่เกิน 22 ซม. หรือประมาณ 8-9 นิ้ว

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่มีรูปทรงสูง และมีลักษณะที่เพรียวครีบยาวพริ้วสมส่วน เหมาะสำหรับการเลี้ยงในตู้ เพราะ มีสีตามลำตัวและครีบที่มีลักษณะสวยงาม ซึ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ที่เลี้ยงในเวลาที่มองด้านข้างของปลา สำหรับคนพื้นเมืองปลาชนิดนี้จะเป็นที่นิยมบริโภคมาก เพราะมีรสชาติอร่อยแต่หาได้ค่อยข้างยาก เพราะปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำที่ค่อนข้างลึก
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะค่อนข้าง
สุขุมไม่รวดเร็วนอกจากเวลาที่ถูกไล่หรือต้อน โดยนักดำน้ำ
ที่ดำลงไปดูความสวยงามของทะเลสาบและฝูงปลา ปกติ
ปลาฟรอนโตซ่ามักจะใช้วิธีการลอยตัวสยายครีบกระโดง
และหาง ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสวยงาม
แล้วยังเป็นวิธีการประหยัดพลังงานแบบหนึ่งของปลา
ชนิดนี้ แต่ละช่วงเวลาที่ปลาฟรอนโตซ่าหาอาหารก็
จะมีปฏิกิริยาที่ว่องไวมากในการล่าเหยื่อ
  ฟรอนโตซ่า
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า ที่ยังมีขนาดเล็กจะกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำที่มีเปลือกอ่อนๆต่างๆ แต่พวกที่มีขนาด ใหญ่จำพวกที่กินเนื้อ(Piscivore) โดยมี ลักษณะของฟันที่แหลมคมเรียงกันอยู่บริเวณกระพุ้งแก้ม ในกระเพาะจะพบปลาขนาดเล็ก ดังนั้นปลาขนาดเล็กที่ในตู้ปลาของท่านอาจจะมีโอกาสเป็นอาหารเจ้าฟรอนโตซ่า ได้ ซึ่งในธรรมชาติปลาที่มักจะเป็นอาหารของฟรอนโตซ่าก็คือปลาจำพวก Cyprichrimis หรืออาจจะเป็นพวกปลาตระกูล Herring ที่จะพบอยู่มากบริเวณที่พบปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
จากการสังเกตุจะเห็นได้ว่าฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีเลห์เหลี่ยมพอสมควรในการหาอาหารตามธรรมชาติแทนที่จะออกแรงไล่ พวกปลาเหยื่อเหล่านั้น บางคงกล่าวว่าฟรอนโตซ่ามักจะใช้เวลาในช่วงเย็นๆหรือช่วงเช้ามืดหาอาหาร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ปลาที่จะตกเป็นเหยื่อพักผ่อนอยู่บริเวณพื้น ซึ่งบางทีอาหาร
ของฟรอนโตซ่าตามธรรมชาติก็เป็น Cyprichrimis ชราๆ ที่พ่ายแพ้ต่อปลาหนุ่มๆมา
การดูแลรักษาปลาหมอสีฟรอนโตซ่า ตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนนี้ควรจะมีระบบหมุนเวียนของน้ำทีดี น้ำค่อนข้างๆสะอาดและกระด้าง
พื้นอาจจะปูด้วยทราย หรือกรวดแม่น้ำที่มีสีไม่สว่างนักประกอบด้วยก้อนหิน ซึ่งนอกจากจะแสดงขอบเขต
ของปลาแต่ละตัวแล้ว แล้วยังเป็นที่หลบของปลาด้วย และที่สำคัญควรจะมีประการัง เพื่อรักษาระดับ pH
หรือความกระด้างของน้ำไว้ให้อยู่ประมาณ 7.5-9 โดยท่านสามารถใส่ได้ทั้งในตู้หรือระบบกรองน้ำ ปลา
ชนิดนี้เป็นปลาน้ำลึกจึงไม่ต้องการแสงสว่างมากนักในที่เลี้ยง
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยว่ายไปว่ายมานัก ดังนั้นตู้ที่มีขนาดเหมาะสมอาจจะเป็นตู้ที่มี
ขนาด 150 ซม.x 60 ซม. (60x20x20 นิ้ว) ซึ่งจะสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกันได้ 4-5 ตัว
โดยควรจะเป็นตัวผู้ 1 ตัวกับตัวเมียอีก 4 ตัว เพราะถ้าตัวผู้อยู่รวมกันมากๆ อาจมีการต่อสู้หรือกัดกันได้
ในกรณีที่ตัวเล็กกว่าไม่ยอมหลบหลีกหนี หรือถ้าท่านสามารถเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่ก็จะเป็นการดี เช่น
ตู้ขนาด 96x24x30 นิ้ว หรือ 120x24x30 นิ้ว ขนาดความหนาของกระจกประมาณ 4 หุน ซึ่งราคา
ประมาณ10,000 - 15,000 บาท น่าจะเป็นตู้ที่ทำให้ท่านเพลิดเพลินกับการเลี้ยงปลาชนิดนี้จำนวน
8-9 ตัว เพราะตามธรรมชาติฟรอนโตซ่าจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งจะทำให้ปลามีึวามเครียดน้อย และแย่ง
กีันกินอาหาร ซึ่งนั่นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เลี้ยงฟรอนโตซ่าส่วนใหญ่ชื่นชอบพฤติกรรมการกินอาหารของ
ปลาชนิดนี้
การเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ สามารถทำได้แต่อย่าให้ปลาอื่นๆ นั้นมีขนาดเล็กกว่ามาก แต่ปลาชนิดนั้น
ควรจะมาจาก แทนแกนยิกา(Lake Tanganyika) และท่านควรจะมั่นใจว่าปลาชนิดเหล่านั้นเป็นปลาที่มี
ลักษณะความต้องการอาหารในแบบเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการดูแล อาหารของปลาชนิดนี้ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้า
ไรทะเล,ลูกน้ำ,เนื้อปลา,ลูกปลา,กุ้งฝอย, หรือแม้แต่อาหารเม็ดและตู้ที่ท่านเลี้ยงควรจะมีฝาปิด เพื่อป้องกัน
การกระโดดของปลา เพราะฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ตกใจง่าย และจะว่ายน้ำอย่ารวดเร็ว ตลอดจนอาจจะ
กระโดดบ้างในบางครั้งที่ตกใจ ดังนั้นบริเวณที่จัดวางตู้ปลส ไม่ควรเป้นที่พลุกพล่านมีผู้คนผ่านไปมามากๆ
เพราะอาจทำให้ปลาเครียดได้ ควรเป็นที่อากาศถ่ายเทได้ดีและแสงแดดไม่สามารถสองถึงได้โดยตรง
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า   พฤติกรรมและการผสมพันธุ์ ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
ฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ผสมพันธุ์และมีการเลี้ยงตัวอ่อน
อยู่ในปากหรือบริเวณกระพุ้งแก้ม
ซึ่งปกติบ้านเรามักจะ
เรียกว่าปลาอมไข่ โดยตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลตัวอ่อน ซึ่ง
ปริมาณ
ของตัวอ่อนที่ได้จะประมาณ 10-60 ตัวแต่มี
บางสายพันธุ์หรือในบางกรณีที่ปลายังไม่เข้าสู่วัยเจริญ
พันธุ์เต็มที่ อาจจะทำให้ปริมาณตัวอ่อนที่ได้น้อยลง ตลอด
จนสภาพแวดล้อมในตู้หรือสถานที่เพาะเลี้ยงก็มีส่วนสำคัญ
กับปริมาณของตัวอ่อนโดยเวลาที่ผสมพันธุ์กันตัวผู้จะส่ง
สัญญาณให้ตัวเมียตามมันไปในบริเวณถ้ำหรือโขดหิน
ปลาหมอสีชนิด นี้เป็นปลาที่สืบพันธุ์โดยปลาเพศเมียจะอมไข่ทันทีหลังจากที่ได้รับการ ปฏิสนธิจากปลาตัวผู้ ไข่จะใช้เวลาฟักเป็นตัวเกือบ 4-5 อาทิตย์ การเพาะพันธุ์ปลาฟรอนโตจะใช้เวลา 3-4 ปีในการเจริญเติบโตจากขนาด 1 นิ้ว จนถึงขนาดที่ผสมพันธุ์ได้ ลักษณะที่ใช้ในการแยกเพศ คือ ส่วนหัวและโหนกปลาเพศผู้จะมีหัวที่โหนกนูนกว่าปลาเพศเมียอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการสังเกตุพฤติกรรมของปลาในกลุ่มปลาตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศ เมียมากอาจถึง 1 ฟุต แต่ในขที่ปลาตัวเมียถ้ามีขนาดถึง 10 นิ้วก็นับว่าเป็นตัวเมียที่มีขนาดใหญ่มากแล้ว

เพิ่มคำอธิบายภาพ
ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ ฮอร์น(Flower Horn) ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ ฮอร์น(Flower Horn) เป็นปลาผสมข้ามสายพันธุ์
ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย เริ่มเข้ามาในประเทศไทย
ประมาณปลายปี 2543 More
   
ปลาหมอสีMermaid ปลาหมอสีMermaid เป็นปลาผสมข้ามสายพันธุ์ที่มีต้นกำเินิดในประเทศ
มาเลเซียโดย Aquarium Mermaid Farm ซึ่งมี Mr. จาง
เหว่ย หมิง เป็นเจ้าของฟาร์ม เป็นปลาที่มีราคาค่อยข้างสูงที่่สุด
ในบรรดาปลาข้ามสายพันธุ์
จากประเทศมาเลเซีย
More
   
ปลาหมอสีนกแก้ว ปลาหมอสีนกแก้ว และปลาหมอสีคิงคอง เป็นปลาที่ผสมพันธุ์ระหว่างซินสไปรุ่มกับ
เรดเดวิล ซึ่งพ่อแม่พันธุ์แต่ละคู่ให้ลูกปลาในลักษณะที่แตกต่าง
กันออกไป พ่อแม่ปลาบางคู่จะให้ลูกปลามาเป็นปลานกแก้วใน
ขณะที่บางคู่จะให้ลูกปลาเป็นคิงคอง ซึุ่งปลานกแก้วและ
ปลาคิงคอง จะมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก More...
เพิ่มคำอธิบายภาพ
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa Blue Zaire ปลาสวยงาม Blue Zaire เป็นหนึ่งในปลาหมอสีที่มีความงดงามและสง่างาม เป็นที่ ปราถนาผู้เลี้ยงปลาหมอสีที่จะได้ครอบ
ปลาหมอฟลามิงโก้ Midas Cichlid   ปลาหมอสีฟลามิงโก้ (Midas Cichlid)
ปลาหมอฟลามิงโก้ (Amephoilophus citrinellus)หรือที่
เดิมเคยคุ้นเคยกันดีในชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า(Cichlasoma
citrinellum) เป็นหมอสีอีกหนึ่งตัวที่แพร่หลายเข้ามาเมืองไทย
เป็นเวลาหลา่ยสิบปีแล้วก็เป็นรุ่นๆเดียวกันกับปลาออสก้าร์ แล้ว
ชื่อฟลามิงโก้นเป็นชื่อเฉพาะที่คนไทยเราตั้งขึ้นมา หากจะเรียก
ชื่อของปลาี่ขนิดนี้เป็นภาษาอังกฤษก็คงต้องเรียกว่า
Red Midas

ปลาหมอสีฟลามิงโก้ เป็น ปลาที่มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเกิน 1 ฟุตขึ้นไป รวมทั้งมีสีสันที่หลากหลาย ไล่ตั้งแต่พื้นเหลืองจนออกถึงโทนสีแดงเข้มบางตัวอาจมีขาวแซม สลับกับสีพื้น ซึ่งทำให้ดูรวมๆ แล้วมีสีเป็นขาวแดง สลับกับสีพื้น ซึ่งทำให้ดูรวมๆแล้วมีสีเป็นขาวแดงขาวส้ม หรือขาวเลยก็มีึ่งจากการที่ปลามีหลายเฉดสีทำให้ผู้เลี้ยงเกิดความสับสนคิิด และเข้าใจว่า คือ ปลาหมอชนิดใหม่ซึ่งอยากจะให้ทำความเข้าใจไว้ ณ ที่นี้ว่าไม่ว่าปลาตัวนั้นๆจะออกสีแดงเข้ามเพียงใด หรือเหลืองซีดอย่างไรก็คือปลาหมอฟลามิงโก้ Amephoilophus citrinellusตัวเดียวกันนี่เอง
ลักษณะสีที่แตกต่างกันเป็นเพียง Color morphing ที่แตกต่างกันในธรรมชาติว่ากันว่าจะพบว่า ปลา
ชนิดนี้มีสองเฉดสีหลักๆ คือ ชาวชมพู
และเทาน้ำตาล ซึ่งสีที่ออกชมพูถึงแดงนี่สันนิษฐานกันว่าจะช่วย
ให้ปลาชนิดนี้
ดูแลลูกปลาได้ดีขึ้นในสภาพแวกล้อมของทะเลสาบที่มืด(อาจจะช่วยให้ลูกปลาสังเกตุเห็น
พ่อแม่ปลาได้อย่างเด่นชัดขึ้น)
ปลาชนิดนี้จะกิน ตัวอ่อนของแมลง ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็กๆ
รวมทั้งหอยเป็นอาหาร สังเกตได้จากรูปแบบของฟันปลา
ที่เรียงกันเป็นแถว ส่วนในที่เลี้ยง หากดูแลเอาใจใส่อย่้าง
สม่ำเสมอ โดยเฉพาะปลาเพศผู้ส่วนหัวจะโหนกเร็วมาก
เป็นการคืนกำไรให้กับความตั้งใจดูแลเอาใจใส่อย่างดีของ
คนเลี้ยงก็สามารถฝึกให้กินอาหารได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะ
เป็นอาหารสำเร็จรูป
เนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว หรืออาหารที่มีชีวิต
ทุกรูปแบบ

  ปลาฟลามิงโก้
ปลาหมอสีฟลามิงโก้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเติบโตได้ดี ถ้าดูแลเอาใจใส่สม่อเสมอ โดยเฉพาะปลาเพศผู้
ส่วนหัวจะโหนกเร็วมากเป็นการตอบแทนที่เราเอาใจใส่เค้าเป็นอย่างดีครับ

การจะสังเกตุเพศปลาชนิดนี้ทำได้ไม่ยากโดยเฉพาะปลาที่มีขนาดใหญ่โตเต็มที่แล้ว ปลาเพศผู้
จะมีส่วนหัว Nuchal Hump ที่โหนกนูนใหญ่กว่าของปลาเพศเมียมาก ชายครีบของปลาตัวที่สม
บูรณ์จะมี filament เดี่ยวๆที่ยาวออกมาอย่างสวยงาม การสังเกตุอีกทางทีี่ใช้ในการบ่งบอกเพศ
ได้แก่ การดูช่องเพศ ventimg ของปลา ปลาเพศผู้ช่องเพศจะออกยาวรี ส่วนของปลาเพศเมีย
จะออกเป็นทรงกลม รวมทั้งยื่นออกมาให้เห็นอย่างได้เด่นชัดในช่วงที่ปลาใกล้ผสมพันธุ์ เมื่อปลา
ชนิดนี้พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ ปลาทั้งสองเพศจะมองหาทำเลภายในตู้แล้วเริ่มขุดหินออกเป็น
แอ่งขนาดใหญ่ หากบริเวณนั้นมีก้อนหิน ปลาทั้งสองจะช่วยกันกัดหินเป็นการทำความสะอาด เพื่อให้ปลาเพศเมียใช้เป็นทีวางไข่จำนวนหลายพันใบ
หลังจากที่ปลาวางไข่แล้วปลาทั้งสองตัวจะช่วยกันดูแลไข่ โดยที่ปลาเพศเมียจะใช้ครีบพัดโบก
เบาๆเพื่อให้กระแสน้ำไหลเวียนเป็นการเติมออกซิเจนให้กับไข่ที่กำลังฟัก โดยปกติแล้วไข่ของ
ปลาชนิดนี้จะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน หลังจากที่ไข่ฟักเป็นตัวแล้วลูกปลายัไม่สามารถว่ายน้ำได้
จนกระทั่งถุงไข่ที่ติดมาด้วยกับปลาได้ยุบหมดแล้ว ลูกปลาจึงเ้ริ่มว่ายหาอาหาร

ปลาหมอสีสายพันธุ์อื่นๆ
ปลาหมอสี (Crossbreed)
ปลาหมอสีฟลามิงโก้ (Midas Cichlid)
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)
ปลาหมอสีเซวาลุ่มทอง (Gold Seve rum)
ปลาหมอสีมาลาวี สีน้ำเงิน (Peacock)

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งปลาหมอสีได้ดังนี้
จัดเรียงปลาหมอสีตามแหล่งกำเนิด (Point Of Origin)
จัดเรียงปลาหมอสีตามสกุล(Genus)