วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปลาหมอสี

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)



ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
เพิ่มคำอธิบายภาพ

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า ปกติเป็นปลา ที่พบได้บริเวณที่มีน้ำลึกตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไปดยที่บริเวณดังกล่าวจะมีแนวโขดหินความลึกโดยเฉลี่ยที่จะสามารถพบ ปลาชนิดนี้ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของฝูงปลา และลักษณะของบริเวณพืนที่ที่พบ เช่นที่ Milima Island ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่เกาะ Kavala จะพบปลาชนิดนี้ได้ในความลึกระหว่าง 4-50 เมตร
และบริเวณส่วนที่ตื้นที่สุดของบริเวณ Kapampaจะพบฝูงปลาฟรอนโตซ่าได้ที่ความลึก 25-30 เมตรตลอตจนสามารถพบเจ้าฟรอนโตซ่าตามบริเวณที่มีน้ำลึกมากๆ และมีแนวโขดหินทั่วทะเลสาบ
ปลาชนิดนี้จะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง และปกติจะพบตัวผู้ที่เป็นหัวหน้าฝูงอยู่กับตัวเมียหลายๆตัว ซึ่งตัวเมียบางตัวอาจจะกำลังอมไข่อยู่ และบางทีก็จะพบว่าในฝูงนั้นยังมีตัวผู้อื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าตัวหัวหน้าฝูงอีกด้วย บรรดาฝูงฟรอนโตซ่าตัวเล็กๆ หรือที่เพิ่งโตขึ้นมาจะพบได้บริเวณน้ำตื้น แต่ตัวขนาดใหญ่ที่มีลำตัวยาวตั้งแต่ 30 ซม. ขึ้นไปจะพบได้บริเวณที่ความลึกที่ต่ำกว่า 20 เมตร
ชื่อ ของปลาชนิดนี้มาจากลักษณะบริเวณหัวที่มีโหนกออกมาโดดเด่น โดยเฉพาะในตัวผู้ ส่วนตัวเมีย จะมีหัวที่ค่อนข้างมนกลม และครีบท้องมักจะไม่ค่อยยาวเกินไปถึงครีบบริเวณทวาร ปลาชนิดนี้โดยจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นโขดหิน และมีพื้นที่เป็นทราย เป็นปลาชนิดที่อมไำข ตัวผู้มีขนาดยาวได้ถึง 33 ซม. หรือ 12-13 นิ้ว ในขณะที่ตัวเมียส่วนใหญ่จะมีขนาดไม่เกิน 22 ซม. หรือประมาณ 8-9 นิ้ว

ปลาหมอสีฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่มีรูปทรงสูง และมีลักษณะที่เพรียวครีบยาวพริ้วสมส่วน เหมาะสำหรับการเลี้ยงในตู้ เพราะ มีสีตามลำตัวและครีบที่มีลักษณะสวยงาม ซึ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้ที่เลี้ยงในเวลาที่มองด้านข้างของปลา สำหรับคนพื้นเมืองปลาชนิดนี้จะเป็นที่นิยมบริโภคมาก เพราะมีรสชาติอร่อยแต่หาได้ค่อยข้างยาก เพราะปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำที่ค่อนข้างลึก
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะค่อนข้าง
สุขุมไม่รวดเร็วนอกจากเวลาที่ถูกไล่หรือต้อน โดยนักดำน้ำ
ที่ดำลงไปดูความสวยงามของทะเลสาบและฝูงปลา ปกติ
ปลาฟรอนโตซ่ามักจะใช้วิธีการลอยตัวสยายครีบกระโดง
และหาง ซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสวยงาม
แล้วยังเป็นวิธีการประหยัดพลังงานแบบหนึ่งของปลา
ชนิดนี้ แต่ละช่วงเวลาที่ปลาฟรอนโตซ่าหาอาหารก็
จะมีปฏิกิริยาที่ว่องไวมากในการล่าเหยื่อ
  ฟรอนโตซ่า
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า ที่ยังมีขนาดเล็กจะกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำที่มีเปลือกอ่อนๆต่างๆ แต่พวกที่มีขนาด ใหญ่จำพวกที่กินเนื้อ(Piscivore) โดยมี ลักษณะของฟันที่แหลมคมเรียงกันอยู่บริเวณกระพุ้งแก้ม ในกระเพาะจะพบปลาขนาดเล็ก ดังนั้นปลาขนาดเล็กที่ในตู้ปลาของท่านอาจจะมีโอกาสเป็นอาหารเจ้าฟรอนโตซ่า ได้ ซึ่งในธรรมชาติปลาที่มักจะเป็นอาหารของฟรอนโตซ่าก็คือปลาจำพวก Cyprichrimis หรืออาจจะเป็นพวกปลาตระกูล Herring ที่จะพบอยู่มากบริเวณที่พบปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
จากการสังเกตุจะเห็นได้ว่าฟรอนโตซ่า เป็นปลาที่มีเลห์เหลี่ยมพอสมควรในการหาอาหารตามธรรมชาติแทนที่จะออกแรงไล่ พวกปลาเหยื่อเหล่านั้น บางคงกล่าวว่าฟรอนโตซ่ามักจะใช้เวลาในช่วงเย็นๆหรือช่วงเช้ามืดหาอาหาร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ปลาที่จะตกเป็นเหยื่อพักผ่อนอยู่บริเวณพื้น ซึ่งบางทีอาหาร
ของฟรอนโตซ่าตามธรรมชาติก็เป็น Cyprichrimis ชราๆ ที่พ่ายแพ้ต่อปลาหนุ่มๆมา
การดูแลรักษาปลาหมอสีฟรอนโตซ่า ตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนนี้ควรจะมีระบบหมุนเวียนของน้ำทีดี น้ำค่อนข้างๆสะอาดและกระด้าง
พื้นอาจจะปูด้วยทราย หรือกรวดแม่น้ำที่มีสีไม่สว่างนักประกอบด้วยก้อนหิน ซึ่งนอกจากจะแสดงขอบเขต
ของปลาแต่ละตัวแล้ว แล้วยังเป็นที่หลบของปลาด้วย และที่สำคัญควรจะมีประการัง เพื่อรักษาระดับ pH
หรือความกระด้างของน้ำไว้ให้อยู่ประมาณ 7.5-9 โดยท่านสามารถใส่ได้ทั้งในตู้หรือระบบกรองน้ำ ปลา
ชนิดนี้เป็นปลาน้ำลึกจึงไม่ต้องการแสงสว่างมากนักในที่เลี้ยง
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยว่ายไปว่ายมานัก ดังนั้นตู้ที่มีขนาดเหมาะสมอาจจะเป็นตู้ที่มี
ขนาด 150 ซม.x 60 ซม. (60x20x20 นิ้ว) ซึ่งจะสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกันได้ 4-5 ตัว
โดยควรจะเป็นตัวผู้ 1 ตัวกับตัวเมียอีก 4 ตัว เพราะถ้าตัวผู้อยู่รวมกันมากๆ อาจมีการต่อสู้หรือกัดกันได้
ในกรณีที่ตัวเล็กกว่าไม่ยอมหลบหลีกหนี หรือถ้าท่านสามารถเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่ก็จะเป็นการดี เช่น
ตู้ขนาด 96x24x30 นิ้ว หรือ 120x24x30 นิ้ว ขนาดความหนาของกระจกประมาณ 4 หุน ซึ่งราคา
ประมาณ10,000 - 15,000 บาท น่าจะเป็นตู้ที่ทำให้ท่านเพลิดเพลินกับการเลี้ยงปลาชนิดนี้จำนวน
8-9 ตัว เพราะตามธรรมชาติฟรอนโตซ่าจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งจะทำให้ปลามีึวามเครียดน้อย และแย่ง
กีันกินอาหาร ซึ่งนั่นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เลี้ยงฟรอนโตซ่าส่วนใหญ่ชื่นชอบพฤติกรรมการกินอาหารของ
ปลาชนิดนี้
การเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆ สามารถทำได้แต่อย่าให้ปลาอื่นๆ นั้นมีขนาดเล็กกว่ามาก แต่ปลาชนิดนั้น
ควรจะมาจาก แทนแกนยิกา(Lake Tanganyika) และท่านควรจะมั่นใจว่าปลาชนิดเหล่านั้นเป็นปลาที่มี
ลักษณะความต้องการอาหารในแบบเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการดูแล อาหารของปลาชนิดนี้ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้า
ไรทะเล,ลูกน้ำ,เนื้อปลา,ลูกปลา,กุ้งฝอย, หรือแม้แต่อาหารเม็ดและตู้ที่ท่านเลี้ยงควรจะมีฝาปิด เพื่อป้องกัน
การกระโดดของปลา เพราะฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ตกใจง่าย และจะว่ายน้ำอย่ารวดเร็ว ตลอดจนอาจจะ
กระโดดบ้างในบางครั้งที่ตกใจ ดังนั้นบริเวณที่จัดวางตู้ปลส ไม่ควรเป้นที่พลุกพล่านมีผู้คนผ่านไปมามากๆ
เพราะอาจทำให้ปลาเครียดได้ ควรเป็นที่อากาศถ่ายเทได้ดีและแสงแดดไม่สามารถสองถึงได้โดยตรง
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า   พฤติกรรมและการผสมพันธุ์ ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า
ฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่ผสมพันธุ์และมีการเลี้ยงตัวอ่อน
อยู่ในปากหรือบริเวณกระพุ้งแก้ม
ซึ่งปกติบ้านเรามักจะ
เรียกว่าปลาอมไข่ โดยตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลตัวอ่อน ซึ่ง
ปริมาณ
ของตัวอ่อนที่ได้จะประมาณ 10-60 ตัวแต่มี
บางสายพันธุ์หรือในบางกรณีที่ปลายังไม่เข้าสู่วัยเจริญ
พันธุ์เต็มที่ อาจจะทำให้ปริมาณตัวอ่อนที่ได้น้อยลง ตลอด
จนสภาพแวดล้อมในตู้หรือสถานที่เพาะเลี้ยงก็มีส่วนสำคัญ
กับปริมาณของตัวอ่อนโดยเวลาที่ผสมพันธุ์กันตัวผู้จะส่ง
สัญญาณให้ตัวเมียตามมันไปในบริเวณถ้ำหรือโขดหิน
ปลาหมอสีชนิด นี้เป็นปลาที่สืบพันธุ์โดยปลาเพศเมียจะอมไข่ทันทีหลังจากที่ได้รับการ ปฏิสนธิจากปลาตัวผู้ ไข่จะใช้เวลาฟักเป็นตัวเกือบ 4-5 อาทิตย์ การเพาะพันธุ์ปลาฟรอนโตจะใช้เวลา 3-4 ปีในการเจริญเติบโตจากขนาด 1 นิ้ว จนถึงขนาดที่ผสมพันธุ์ได้ ลักษณะที่ใช้ในการแยกเพศ คือ ส่วนหัวและโหนกปลาเพศผู้จะมีหัวที่โหนกนูนกว่าปลาเพศเมียอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการสังเกตุพฤติกรรมของปลาในกลุ่มปลาตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศ เมียมากอาจถึง 1 ฟุต แต่ในขที่ปลาตัวเมียถ้ามีขนาดถึง 10 นิ้วก็นับว่าเป็นตัวเมียที่มีขนาดใหญ่มากแล้ว

เพิ่มคำอธิบายภาพ
ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ ฮอร์น(Flower Horn) ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ ฮอร์น(Flower Horn) เป็นปลาผสมข้ามสายพันธุ์
ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย เริ่มเข้ามาในประเทศไทย
ประมาณปลายปี 2543 More
   
ปลาหมอสีMermaid ปลาหมอสีMermaid เป็นปลาผสมข้ามสายพันธุ์ที่มีต้นกำเินิดในประเทศ
มาเลเซียโดย Aquarium Mermaid Farm ซึ่งมี Mr. จาง
เหว่ย หมิง เป็นเจ้าของฟาร์ม เป็นปลาที่มีราคาค่อยข้างสูงที่่สุด
ในบรรดาปลาข้ามสายพันธุ์
จากประเทศมาเลเซีย
More
   
ปลาหมอสีนกแก้ว ปลาหมอสีนกแก้ว และปลาหมอสีคิงคอง เป็นปลาที่ผสมพันธุ์ระหว่างซินสไปรุ่มกับ
เรดเดวิล ซึ่งพ่อแม่พันธุ์แต่ละคู่ให้ลูกปลาในลักษณะที่แตกต่าง
กันออกไป พ่อแม่ปลาบางคู่จะให้ลูกปลามาเป็นปลานกแก้วใน
ขณะที่บางคู่จะให้ลูกปลาเป็นคิงคอง ซึุ่งปลานกแก้วและ
ปลาคิงคอง จะมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก More...
เพิ่มคำอธิบายภาพ
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
รูปภาพ ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa-Blue Zaire
ปลาหมอสี Cyphotilapia frontosa Blue Zaire ปลาสวยงาม Blue Zaire เป็นหนึ่งในปลาหมอสีที่มีความงดงามและสง่างาม เป็นที่ ปราถนาผู้เลี้ยงปลาหมอสีที่จะได้ครอบ
ปลาหมอฟลามิงโก้ Midas Cichlid   ปลาหมอสีฟลามิงโก้ (Midas Cichlid)
ปลาหมอฟลามิงโก้ (Amephoilophus citrinellus)หรือที่
เดิมเคยคุ้นเคยกันดีในชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า(Cichlasoma
citrinellum) เป็นหมอสีอีกหนึ่งตัวที่แพร่หลายเข้ามาเมืองไทย
เป็นเวลาหลา่ยสิบปีแล้วก็เป็นรุ่นๆเดียวกันกับปลาออสก้าร์ แล้ว
ชื่อฟลามิงโก้นเป็นชื่อเฉพาะที่คนไทยเราตั้งขึ้นมา หากจะเรียก
ชื่อของปลาี่ขนิดนี้เป็นภาษาอังกฤษก็คงต้องเรียกว่า
Red Midas

ปลาหมอสีฟลามิงโก้ เป็น ปลาที่มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดเกิน 1 ฟุตขึ้นไป รวมทั้งมีสีสันที่หลากหลาย ไล่ตั้งแต่พื้นเหลืองจนออกถึงโทนสีแดงเข้มบางตัวอาจมีขาวแซม สลับกับสีพื้น ซึ่งทำให้ดูรวมๆ แล้วมีสีเป็นขาวแดง สลับกับสีพื้น ซึ่งทำให้ดูรวมๆแล้วมีสีเป็นขาวแดงขาวส้ม หรือขาวเลยก็มีึ่งจากการที่ปลามีหลายเฉดสีทำให้ผู้เลี้ยงเกิดความสับสนคิิด และเข้าใจว่า คือ ปลาหมอชนิดใหม่ซึ่งอยากจะให้ทำความเข้าใจไว้ ณ ที่นี้ว่าไม่ว่าปลาตัวนั้นๆจะออกสีแดงเข้ามเพียงใด หรือเหลืองซีดอย่างไรก็คือปลาหมอฟลามิงโก้ Amephoilophus citrinellusตัวเดียวกันนี่เอง
ลักษณะสีที่แตกต่างกันเป็นเพียง Color morphing ที่แตกต่างกันในธรรมชาติว่ากันว่าจะพบว่า ปลา
ชนิดนี้มีสองเฉดสีหลักๆ คือ ชาวชมพู
และเทาน้ำตาล ซึ่งสีที่ออกชมพูถึงแดงนี่สันนิษฐานกันว่าจะช่วย
ให้ปลาชนิดนี้
ดูแลลูกปลาได้ดีขึ้นในสภาพแวกล้อมของทะเลสาบที่มืด(อาจจะช่วยให้ลูกปลาสังเกตุเห็น
พ่อแม่ปลาได้อย่างเด่นชัดขึ้น)
ปลาชนิดนี้จะกิน ตัวอ่อนของแมลง ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็กๆ
รวมทั้งหอยเป็นอาหาร สังเกตได้จากรูปแบบของฟันปลา
ที่เรียงกันเป็นแถว ส่วนในที่เลี้ยง หากดูแลเอาใจใส่อย่้าง
สม่ำเสมอ โดยเฉพาะปลาเพศผู้ส่วนหัวจะโหนกเร็วมาก
เป็นการคืนกำไรให้กับความตั้งใจดูแลเอาใจใส่อย่างดีของ
คนเลี้ยงก็สามารถฝึกให้กินอาหารได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะ
เป็นอาหารสำเร็จรูป
เนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว หรืออาหารที่มีชีวิต
ทุกรูปแบบ

  ปลาฟลามิงโก้
ปลาหมอสีฟลามิงโก้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเติบโตได้ดี ถ้าดูแลเอาใจใส่สม่อเสมอ โดยเฉพาะปลาเพศผู้
ส่วนหัวจะโหนกเร็วมากเป็นการตอบแทนที่เราเอาใจใส่เค้าเป็นอย่างดีครับ

การจะสังเกตุเพศปลาชนิดนี้ทำได้ไม่ยากโดยเฉพาะปลาที่มีขนาดใหญ่โตเต็มที่แล้ว ปลาเพศผู้
จะมีส่วนหัว Nuchal Hump ที่โหนกนูนใหญ่กว่าของปลาเพศเมียมาก ชายครีบของปลาตัวที่สม
บูรณ์จะมี filament เดี่ยวๆที่ยาวออกมาอย่างสวยงาม การสังเกตุอีกทางทีี่ใช้ในการบ่งบอกเพศ
ได้แก่ การดูช่องเพศ ventimg ของปลา ปลาเพศผู้ช่องเพศจะออกยาวรี ส่วนของปลาเพศเมีย
จะออกเป็นทรงกลม รวมทั้งยื่นออกมาให้เห็นอย่างได้เด่นชัดในช่วงที่ปลาใกล้ผสมพันธุ์ เมื่อปลา
ชนิดนี้พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ ปลาทั้งสองเพศจะมองหาทำเลภายในตู้แล้วเริ่มขุดหินออกเป็น
แอ่งขนาดใหญ่ หากบริเวณนั้นมีก้อนหิน ปลาทั้งสองจะช่วยกันกัดหินเป็นการทำความสะอาด เพื่อให้ปลาเพศเมียใช้เป็นทีวางไข่จำนวนหลายพันใบ
หลังจากที่ปลาวางไข่แล้วปลาทั้งสองตัวจะช่วยกันดูแลไข่ โดยที่ปลาเพศเมียจะใช้ครีบพัดโบก
เบาๆเพื่อให้กระแสน้ำไหลเวียนเป็นการเติมออกซิเจนให้กับไข่ที่กำลังฟัก โดยปกติแล้วไข่ของ
ปลาชนิดนี้จะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน หลังจากที่ไข่ฟักเป็นตัวแล้วลูกปลายัไม่สามารถว่ายน้ำได้
จนกระทั่งถุงไข่ที่ติดมาด้วยกับปลาได้ยุบหมดแล้ว ลูกปลาจึงเ้ริ่มว่ายหาอาหาร

ปลาหมอสีสายพันธุ์อื่นๆ
ปลาหมอสี (Crossbreed)
ปลาหมอสีฟลามิงโก้ (Midas Cichlid)
ปลาหมอสีฟรอนโตซ่า (Cyphotilapia frontosa)
ปลาหมอสีเซวาลุ่มทอง (Gold Seve rum)
ปลาหมอสีมาลาวี สีน้ำเงิน (Peacock)

นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งปลาหมอสีได้ดังนี้
จัดเรียงปลาหมอสีตามแหล่งกำเนิด (Point Of Origin)
จัดเรียงปลาหมอสีตามสกุล(Genus)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น