วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาสวยงาม

เทคนิคการเลี้ยงปลาทองในตู้
ที่มาของรูป  http://www.showded.com/users/ultraman/images/8.jpg
   นักเลี้ยงปลาทองส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงในตู้มากกว่า ภาชนะอย่างอื่น เพราะนอกเหนือจากความงดงามอ่อนช้อยของปลาทองแล้ว ยังสามารถตกแต่งตู้ปลาให้สวยงามเป็นเครื่องประดับบ้านโชว์แขกที่มาเยี่ยม เยือนได้เป็นอย่างดี
   การเลี้ยงปลาทองในตู้จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าดังต่อไปนี้
 
เลือกสถานที่
   ก่อนซื้อตู้ปลา ควรกำหนดจุดหรือบริเวณภายในบ้านหรืออาคารสำหรับเป็นที่ตั้งตู้ปลาเสียก่อน วัดขนาดความกว้างความสูงของสถานที่ ให้แน่นอนแล้วจึงไปหาซื้อตู้ที่มีขนาดพอเหมาะกับสถานที่ตั้ง จุดที่เหมาะ สำหรับตั้งตู้เลี้ยงปลาทองควรเป็นที่อากาศถ่ายเทสะดวกถ้าได้ที่มีแสงแดดตอน เข้าส่องถึงจะดีมาก เพราะแสงแดดยามเช้าจะทำให้สีของปลาเข้มขึ้น ตรงกันข้ามกับแสงแดดยามบ่ายจะทำให้สีของปลาจางลงนอกจากนั้นแล้วจุดตั้งตู้ เลี้ยงปลาควรอยู่ตรงที่สามารถขับถ่ายน้ำได้สะดวก

ตู้เลี้ยงปลา 
   ตู้เลี้ยงปลาทองควรพิจารณาเลือกตู้ที่มีรูปทรงและขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ ที่เลือกไว้ อย่างไรก็ตามขนาดของตู้ไม่ควรเล็กเกินไปถ้าต้องการจะตกแต่งตู้ด้วยพรรณไม้ น้ำและวัสดุอย่างอื่นเช่นก้อนหิน หรือขอนไม้
   ตู้เลี้ยงปลาปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 ชนิด คือ ตู้ที่ทำด้วยแผ่นกระจก และตู้ที่หล่อขึ้นจากอะคริลิกใส ตู้กระจกมีข้อดีตรงที่ไม่เป็นรอยขีดข่วนง่ายเวลาทำความสะอาด แต่เสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายลำบาก และมีรอยต่อตรงมุมตู้ส่วนตู้อะคริลิกมี่ข้อดีตรงที่มีความใสมากกว่า แผ่นกระจก ไม่มีรอยต่อตรงมุมตู้น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียที่ราคาแพง เกิดรอยขีดข่วนง่ายและถ้าเป็นอะคริลิกคุณภาพต่ำเมื่อใช้ไปนาน ๆ  จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชาด้วยเหตุนี้ตู้กระจกจึงยังได้รับความนิยมมากกว่า
การจัดเตรียมตู้ปลา
   ตู้ปลาที่ซื้อมาใหม่จะต้องล้างทำความสะอาดแล้วใสน้ำแช่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ระหว่างที่ใสน้ำแช่ไว้ควรตรวจสอบดูว่ามีการรั่วซึมที่ใดบ้างหรือเปล่าถ้ามี ก็จัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อยเสียก่อน หลังจากนั้นถ่ายน้ำที่แช่ไว้ออกให้หมด เช็ดให้แห้งแล้วนำไปวางเข้าที่ที่เตรียมไว้ การเคลื่อนย้ายตู้ปลาควรใช้มือช้อนเข้าไปในตู้แล้วยก อย่าจับขอบด้านบนแล้วยกเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้แผ่นกระจกด้านข้างโย้ไปมาจนกาวยึดรอยต่อเกิดการรั่วซึมหรือฉีก ขาดได้

เตรียมแผ่นกรอง
   แผ่นกรองก่อนนำมาใช้จะต้องทำความสะอาดเสียก่อนเนื่องจากแผ่นกรองทำด้วย พลาสติกที่ใช้สารเคมีในขบวนการผลิต ถ้าไม่ล้างออกให้หมดอาจเป็นอันตรายต่อปลา จากนั้นนำแผ่นกรองประกอบเข้ากับท่อระบายอากาศ ต่อสายยางจากปั้มลมเข้ากับท่อลมข้างท่อระบายอากาศ แล้วเอาแผ่นกรองวางแนบกับพื้นตู้

เตรียมพื้นตู้
   วัสดุที่ใช้ปูพื้นตู้โดยมากนิยมใช้ทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็ก ไม่ควรใช้ทรายละเอียด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลงตกตะกอนและเศษของเสียยังตกค้างอยู่บน พื้นผิวทราย เป็นสาเหตุให้น้ำขุ่น สำหรับปลาทองซึ่งเป็นปลาที่ชอบคุ้ยหาอาหารที่พื้นจึงควรใช้กรวดขนาดใหญ่ขึ้น มาหน่อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และควรเลือกกรวดที่ไม่มีเหลี่ยมแหลมคมและปราศจากเศษเปลือกหอย ป้องกันปลาทองบาดเจ็บเมื่อว่ายไปชน
   ก่อนนำกรวดมาใช้ปูพื้นตู้ปลาจะต้องล้างให้สะอาดจนหมดเศษดินแล้วแช่น้ำทิ้ง ไว้ 2-3 วันเพื่อกำจัดความเค็มที่อาจติดมากับกรวดถ้าจะให้ดีก็ควรเอากรวดมาลวกน้ำ ร้อนในถังแช่ทิ้งไว้ประมาณ  10-15 นาที เพื่อให้น้ำร้อนแทรกซึมเม็ดกรวดได้ทั่วถึง แล้วจึงนำมาล้างน้ำเย็นให้สะอาดก่อนนำไปใช้
   นำกรวดที่ล้างสะอาดแล้วไปเทใส่ตู้กลบทับแผ่นกรองให้มิดและหนาอย่างน้อย 3 นิ้ว ที่นิยมกันมากจะปูพื้นให้ระดับกรวดด้านหลังตู้สูงกว่าด้านหน้า พื้นกรวดที่มีลักษณะเอียงลาดแบบนี้เมื่อนานไป กรวดที่อยู่ระดับสูงจะเลื่อนไหลลงมาอยู่ที่ระดับเดียวกันเป็นพื้นราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควรหาอะไรมากั้นดักเอาไว้เป็นช่วง ๆ

ขั้นตอนการเตรียมตู้ปลา
1. ใส่กรวดทับลงไปบนแผ่นกรอง
2. เกลี่ยกรวดให้เต็มพื้นตู้
3. ปรับระดับชั้นกรวดสูงต่ำตามต้องการ
4. ตกแต่งด้วยก้อนหิน ขอนไม้ ตามชอบ
5. ใส่น้ำโดยใช้พลาสติกหรือชามรองกันทรายกระจายขึ้นมา
6. ถ้าต้องการตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้น้ำใส่น้ำลงไปประมาณ 1 ใน 3 ก่อน
7. เริ่มปลูกต้นไม้น้ำที่เป็นฉากหลังก่อน
8. ปลูกต้นไม้น้ำระดับกลางตู้
9. ปลูกต้นไม้น้ำขนาดเล็กไว้ด้านหน้าตู้
10. หลังจากปลูกต้นไม้น้ำหมดแล้วให้ถ่ายน้ำทิ้ง
11. ใส่น้ำสะอาดไปให้เต็มตู้แล้วช้อนเศษใบและกิ่งก้านไม้น้ำที่ลอยอยู่ในน้ำออกให้หมด
12. ตู้ที่จัดเสร็จแล้วแต่น้ำยังขุ่นอยู่ ต้องรอให้น้ำใสเสียก่อนจึงค่อยปล่อยปลาลงไปเลี้ยง
 ที่มาของภาพ https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgKIgH8ovVYzDtzLj1BIUwkMPXfxzKiM2QfVg-aU0YiHMiSNAmYopySBr2cBfbTnQSf_bHFjqYyfMykYMoOQEjw7Q2XybkQnF1bWbSZF1u-iqPhqD8iSVqNKpp6L1_svmWEy7FS2t9V6BQ/s1600/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A11.jpg
          ปลาที่นิยมเลี้ยงนั้นนะค่ะมีหลายประเภทค่ะ  และที่เราจะพูดถึงวันนี้นั้นคือ ปลาทองค่ะ ซึ่งเป็นปลาสวยงามอันดับ ต้น ๆ ในบรรดาปลาสวยงามเลยละค่ะ  ได้รับความนิยมที่จะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางเลยละค่ะ เพราะมีความสวยงามดูมีชีวิตชีวาละค่ะ ชื่อของปลาชนิดนี้ยังเป็นมงคลอีกด้วยละค่ะ ผู้ที่ชอบการเลี้ยงปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นนั้น นิยมที่จะเลี้ยงเจ้าปลาทองไว้ดูเล่นกันจำนวนมาก เลยละค่ะ
หากว่าปลาทองเป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยากนะค่ะ แต่ว่าหลายคนผิดหวังจากการเลี้ยงปลาชนิดนี้ไม่น้อยเลยละค่ะ เพราะว่าจากปลาทองจัดเป็นปลาที่ตายได้ง่ายมากค่ะหากไม่รู้วิธีการเลี้ยง อย่างถูกต้อง เรามีคำแนะนำดี ๆมาฝากผู้ที่ชอบเลี้ยงปลาทองกันค่ะ
          แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์คือ
 สายพันธุ์ที่  1.  ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ 
มีลักษณะเด่นบริเวณหัว ที่จะมีก้อนเนื้อหุ้มอยู่คล้ายสวมหัวโขนค่ะ
 สายพันธ์ที่  2.ปลาทองพันธุ์ออรันดา ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบหางอ่อนช้อยเป็นพวงสวยงามค่ะ
 ภาชนะที่ใช้เลี้ยง
โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงในตู้กระจกใสค่ะ และอ่างซีเมนต์ หากเลี้ยงในตู้กระจกควรเลือกขนาดที่มีความจุของน้ำอย่างน้อย 40 ลิตร ใช้เลี้ยงปลาทอง 12 ตัว ในอ่างซีเมนต์คำนึงแสงสว่างไม่อับแสง และจ้าจนเกินไป และควรใช้ตาข่ายที่พรางแสง ประมาณ 60% ปิดปากบ่อด้วยละค่ะบ่อควรลาดเอียง เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนน้ำค่ะ
 การให้อาหาร
ให้อาหารสำเร็จรูป วันละ 1-2 ครั้งค่ะทุกครั้งไม่ควรมากเกินไปนะค่ะ เพราะปลาจะทองอ้วน และเสี่ยงตายได้ค่ะ อาหารเสริมอย่างลูกน้ำและหนอนแดงให้เสริมได้โดยดูความอ้วนและความแข็งแรงค่ะ ปลาตัวใหญ่อ้วน จะสังเกตได้ที่โคนหางจะใหญ่แข็งแรงและมีความสมดุลกับตัวปลา
 คุณภาพของน้ำ
น้ำประปาที่ใช้เลี้ยงต้องระวังคลอรีนค่ะ เตรียมน้ำโดยเปิดน้ำใส่ถังเปิดฝาวางตากแดดทิ้งไว้นะค่ะเพื่อให้คลอรีนระเหยละค่ะ
 อากาศหรือออกซิเจนในน้ำ
ภาชนะที่เลี้ยงต้องมีการหมุนเวียนเบา ๆ ค่ะไม่ว่าจะผ่านระบบกรองน้ำ น้ำพุ น้ำตก หรือปั๊มน้ำค่ะ เพื่อให้น้ำนั้นหมุนเวียน ทำให้เกิดการเติมออกซิเจนค่ะ ปลาใหญ่ต้องการออกซิเจนมากกว่าปลาเล็กอยู่แล้วละค่ะ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 28-35 องศาเซลเซียสนะค่ะ การรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุดละค่ะ
การเลี้ยงปลาทองนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยละค่ะแต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเกินไปนะคะ แค่ผู้ที่จะเลี้ยงต้องใส่ใจกับภาชนะ สภาพน้ำ การให้อาหาร และหมั่นสังเกตเจ้าปลาทองอย่างสม่ำเสมอค่ะ ปลาทองสวยๆนองคุณจะได้อยู่กับคุณไปนานๆค่ะ
ขอขอบคุณบทความดีๆจาก  pet.kapook.com
 

ปลากัด


ปลากัด ในประเทศ ไทยนั้นมีมูลค่าการส่งออกอยู่ในลำดับที่ 1 ใน 3 ของปลาสวยงามทั้งหมดที่ได้มีการส่งออกตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2543 ถึง ปีพ.ศ. 2550 ซึ่งยังมีปัญหาหนึ่งของการผลิตปลากัดเพื่อส่งออก นั่นก็คือ การที่ปลากัดติดเชื้อแบคทีเรีย โรควัณโรคในปลากัด โดยพบว่ามีการแพร่ระบาดอย่างหนักในปลาสวยงาม อย่าง เช่น ปลากัด ปลาเทวดาและปลาออสก้า  และต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากเชื้อมัยโคแบคทีเรียม โดยที่เชื้อนี้ สามารถพบได้ในไรแดง ในลูกน้ำ ในไส้เดือนฝอย และอื่นๆ โดยจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคดังกล่าวในกลุ่มอาหารที่มีชีวิต ได้ทำให้ปลากัดที่เลี้ยงด้วยอาหารดังกล่าวนี้มีโอกาสที่จะติดเชื้อและการ แพร่ระบาดของ
โรคสามารถแพร่ไปได้ง่าย ซึ่งจากการสุ่มตรวจตัวอย่างของปลาสวยงาม ได้พบว่ามีปลาประมาณ 90% ของตัวอย่างที่พบเชื้อมัยโคแบคทีเรียม โดยที่ปลาไม่แสดงอาการป่วยใดๆให้เห็น แต่ปลากัดที่ป่วยเป็นโรคนี้ก็ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้ ฉะนั้นในการศึกษาการผลิตปลากัดปลอดเชื้อจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการ ระบาดของโรคติดเชื้อ จากที่คุณเต็มดวง สมศิริ และคณะ จากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืดศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัด ระยอง จึงได้มีการเริ่มโครงการทดลองเพื่อการผลิตปลากัดปลอดเชื้อ ที่มีการเลี้ยงจากการควบคุมการผลิตไรแดง ซึ่งจากหัวน้ำเขียวคลอเรลล่าที่ ปลอดเชื้อ ที่มีการควบคุมสุขอนามัยฟาร์มในการฆ่าเชื้อในน้ำและอุปกรณ์ในระบบการเพาะ เลี้ยงด้วยคลอรีน รวมทั้งคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปลากัดที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่มีการปน เปื้อนของเชื้อมัยโคแบคทีเรีย และจากการทดลองพบว่าเมื่อนำปลากัดมาเพาะพันธุ์จำนวน 3 รุ่น ได้มีการพบว่าลูกปลากัดจำนวน 29 ครอก จาก 30 ครอก ไม่มีเชื้อดังกล่าวให้เห็นเลย ซึ่งทำให้สามารถสรุปได้ในเบื้องต้นว่าพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลากัดที่ปลอด เชื้อสามารถผลิตลูกปลากัดที่ปลอดเชื้อได้ผลดี ทำให้เป็นที่สังเกตกันว่าอาหารธรรมชาติที่มีชีวิตสำหรับปลาในเขตร้อน ได้พบว่าไรแดงเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดของลูกปลา ซึ่งมีปริมาณโปรตีนสูง ถึง 70% สำหรับการเพาะเลี้ยงไรแดงในประเทศไทยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะนิยมใช้ปุ๋ย มูลสัตว์ ได้แก่ หมูและไก่ ซึ่งทำให้เชื้อโรค ที่อาจปะปนมากับมูลสัตว์   และหากเมื่อนำไรแดงจากการเลี้ยงด้วยอาหารดังกล่าวมีโอกาสที่จะมีเชื้อโรค ติดมาซึ่งรวมถึง เชื้อมัยโคแบคทีเรียด้วย ดังนั้นการเพาะเลี้ยงไรแดงที่ใช้ ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญของน้ำเขียวเพื่อเป็นอาหารของไรแดง จึงพบว่ามีสุขอนามัยดีกว่าแต่มีต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่า

ขอขอบคุณบทความดีดีจาก  xn--b3c4bjh8ap9auf5i.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น